แหล่งพลังงานที่ประเทศไทยใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

Cal Oxyfuels  > Environment >  แหล่งพลังงานที่ประเทศไทยใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
| | 0 Comments
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (renewable energy power plant) คือโรงไฟฟ้าที่นำพลังงานธรรมชาติมาใช้เพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือพลังงานรูปแบบดั้งเดิมจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (FOSSIL FUEL) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สร้างมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของโลก อีกทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานที่กำลังจะหมดไปในอนาคตข้างหน้านี้ พลังงานหมุนเวียนใช้พลังงานจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดจากธรรมชาติที่สามารถหมุนเวียนและนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกโดยไม่มีจำกัด 

ประเภทของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน  

1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ใช้พลังงานน้ำมีพลังงานให้หมุนเวียนใช้อย่างไม่มีวันหมด น้ำสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการเปลี่ยนรูปของพลังงานจากน้ำที่เก็บกักในเขื่อน (พลังงานศักย์) ไหลผ่านท่อส่งน้ำ (พลังงานจลน์) ปั่นเครื่องกังหันน้ำ (พลังงานกล) และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานที่ได้จะขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำและอัตราการไหลของน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า 

ประเภทของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนพลังงานน้ำ ได้แก่  

  • โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ (RESERVOIR) 
  •  โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (RUN-OFRIVER) 
  •  โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (PUMPED-STORAGEx) 
  • โรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน 

2. โรงไฟฟ้าจากความร้อนของแสงอาทิตย์หรือโซล่าร์เซลล์ 

พลังงานหมุนเวียนแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ อย่างแพร่หลาย สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ (SOLAR CELL) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตมาจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน โดยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง และไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) โรงไฟฟ้าที่ได้ทำการศึกษาและทดลองใช้ในประเทศไทยก็มีหลายที่ด้วยกันเช่น 

  • สถานีเพื่อสาธิตและศึกษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ สถานีพลังงานแสงอาทิตย์คลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และสถานีพลังงานแสงอาทิตย์สันกำแพง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 
  • โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 
  • ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ ได้แก่ ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำบริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำบริเวณเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 

3. โรงไฟฟ้าพลังงานแรงลม  

ปัจจุบัน มนุษย์จึงได้นำประโยชน์จากพลังงานลมมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อ เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น ที่โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนำลมมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำได้โดยใช้เทคโนโลยีกังหันลม ซึ่งแหล่งผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานลมของ กฟผ.มีอยู่สองที่ใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ  

  • กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต 
  • กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 

4. โรงไฟฟ้าที่ผลิตจากความร้อนใต้พิภพ 

เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ที่นำเอาพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ผิวโลก อยู่ในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำร้อน ที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน เมื่อมีฝนตกลงมาในบริเวณนั้นน้ำบางส่วนจะไหลซึมลงไปสะสมใต้ผิวโลกตามแนวรอยแตกดังกล่าว และได้รับความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อน เกิดเป็นน้ำร้อนและไอน้ำแล้วแทรกตัวมาตามแนวรอยแตกซึ่งปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อนน้ำพุร้อน ไอน้ำร้อน บ่อโคลนเดือดและแก๊ส แล้วนำไอนี้ไปหมุนกังหันซึ่งมีเพลาต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป 

5. โรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล 

โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่กักเก็บในรูปของสารอินทรีย์ โดยมากได้จากกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรหรือกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและพืชพลังงาน เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย ใบและยอดอ้อย เศษไม้ ไม้โตเร็ว กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว แม้กระทั่งมูลสัตว์ การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 

  • โรงไฟฟ้าชีวมวล (BIOMASS POWER PLANT )   ซึ่งจะใช้เป็นเชื้อเพลิงของการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง (Direct Combustion) 
  • โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plant)  ซึ่งจะใช้เป็นเชื้อเพลิงจากกระบวนการเคมีความร้อน จนได้ก๊าซชีวภาพ (Biogas) เช่น การหมักน้ำเสียจากกากมันสำปะหลัง กากอ้อย หรือหญ้าเนเปีย เป็นต้น  

บทสรุป  

นอกจากที่เล่ามาข้างต้นแล้ว ยังมีแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อเตรียมเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน อื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างการศึกษาค้นคว้าและทำความเข้าใจ เพื่อให้ได้แหล่งพลังงานที่มีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น พลังงานจากน้ำขึ้น – ลง (Tidal Wave) พลังงานคลื่น (Wave Energy) และพลังงานจากสาหร่าย (Algae Fuel) เป็นต้น การนำทรัพยากรและอย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในหลายๆด้าน ทั้งด้านเทคนิคหรือเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้พลังงานที่เราใช้ในอนาคตเป็นพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อโลกอย่างแท้จริง